ติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า ดีไหม

ติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องรู้อะไรบ้าง ดีจริงไหม คุ้มหรือไม่?

ติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า

การเปิดตัวของรถไฟฟ้าในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ถือว่าได้รับความนิยมสูงเป็นอย่างมาก เพราะช่วยให้ประหยัดค่าน้ำมันที่มีการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เครื่องชาร์จ EV ยังสามารถใช้ใช้งานร่วมกับโซลาร์เซลล์เพื่อช่วยเพิ่มความประหยัดได้มากขึ้น ในบทความนี้จะมาอธิบายว่าติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ดีอย่างไร? มีหลักการทำงานอย่างไร? ก่อนติดตั้งควรรู้อะไรบ้าง?เพื่อให้การติดตั้งถูกต้องเหมาะสมและช่วยประหยัดค่าไฟในระยะยาว

รู้จักการติดตั้งโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า

การติดตั้งโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า คือการนำแผงโซล่าเซลล์มาติดตั้งบนหลังคา เพื่อต่อกับเครื่อง EV Charger ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการชาร์จแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า โดยแผงโซลาร์เซลล์จะผลิตไฟฟ้ากระแสตรง (DC) หลังจากได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ จากนั้นจะไฟฟ้าที่ผลิตได้อินเวอร์เตอร์เพื่อ แปลงไฟฟ้ากระแสตรงให้เป็น ไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วส่งไปยังตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน เพื่อส่งไฟฟ้ามาที่เครื่อง EV Charger ทำให้สามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้ 

ซึ่งการใช้ชาร์จรถไฟฟ้าด้วยไฟโซลาร์เซลล์ จะมีเบรกเกอร์สำหรับเครื่อง EV Charger โดยเฉพาะ เนื่องจากใช้พลังงานสูง และเป็นการป้องกันปัญหาไฟลัดวงจร

ติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า มีหลักการทำงานอย่างไร

หลักการทำงานของการติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า คล้ายกับการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ภายในบ้าน โดยแผงโซล่าเซลล์จะมีสายเชื่อมต่อกับระบบสายส่งกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากนั้นส่งผ่าไปยัง Inverter เพื่อแปลงให้เป็นพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) ไฟฟ้าจะถูกส่งต่อพลังงานไฟฟ้าไฟฟ้าที่ตู้ควบคุมไฟฟ้าภายในบ้าน แล้วส่งพลังงานไฟฟ้ามาที่ EV Charger สำหรับการชาร์จรถไฟฟ้านั่นเอง

ติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ดีอย่างไร?

ติดตั้งโซล่าเซลล์สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีข้อดีที่จะได้จากการใช้โซล่าเซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าดังนี้

  • ช่วยประหยัดค่าไฟ เพราะค่าไฟที่มีการปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดตั้งโซล่าเซลล์ชาร์จรถไฟฟ้า จึงช่วยลดค่าไฟจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ได้มาก นอกจากนี้ยังช่วยลดค่าไฟจากการใช้ไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ในบ้านได้ด้วย
  • ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม โซล่าเซลล์บ้านเป็นระบบที่ใช้แสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานที่สะอาด ไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือมลพิษอื่นๆ และไม่ทำให้โลกร้อน ดังนั้นโซล่าเซลล์จึงเป็นพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นมิตรต่อสุขภาพของคน สัตว์ และระบบนิเวศน์อีกด้วย 
  • สะดวกและรวดเร็ว  การติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าไว้ที่บ้าน ช่วยเพิ่มสะดวกสบายในการชาร์จไฟฟ้า ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปสถานีบริการ ซึ่งอาจทำให้เสียเวลาและมีจำนวนเครื่องชาร์จจำกัดแล้ว อีกทั้งยังเสี่ยงที่สถานีชาร์จจะไม่ว่างในทันที ซึ่งการชาร์จไฟฟ้าให้เต็มแบตเตอรี่ จะใช้เวลาประมาณ 4-6 ชั่วโมง (ขึ้นอยู่กับรุ่นของรถยนต์)
  • เป็นพลังงานที่ยั่งยืน (พลังงานที่ไม่มีวันหมด) การใช้ลดไฟฟ้าจะช่วยลดความต้องการใช้น้ำมัน ที่มีปริมาณที่ลดลง และการผลิตน้ำมันอาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหลายๆ ด้าน แต่ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (โซล่าเซลล์) ที่เป็นพลังงานยั่งยืน ไม่มีวันหมด ดังนั้นผู้ติดตั้งโซลาร์เซลล์ชาร์จรถไฟฟ้าและผู้ขับขี่รถยนต์ไฟฟ้าจึงสามารถใช้พลังงานได้อย่างยั่งยืน
  • เพิ่มมูลค่าบ้านให้สูงขึ้น การติดตั้งโซลาร์เซลล์และ EV Charge สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับบ้านได้ ซึ่งระบบโซลาร์เซลล์และที่ชาร์จรถไฟฟ้าเป็นคุณสมบัติที่ผู้ซื้อบ้านกำลังมองหา เพราะช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาว ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในตลาด 

ก่อนติดตั้งติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า ต้องเตรียมตัวอย่างไร

  1. สำรวจพื้นที่ติดตั้ง สำรวจจุดที่จะติดตั้งให้มีความเหมาะสม เพื่อให้ชาร์จรถได้อย่างสะดวก และอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน มีหลังคากันฝน หรือติดตั้งในโรงจอดรถ
  2. ขนาดไฟบ้าน ตรวจสอบขนาดมิเตอร์ที่บ้าน ให้เหมาะสมกับการติดตั้ง เพราะปกติบ้านเรือนทั่วไปจะใช้ไฟที่ 15 แอมป์ ซึ่งเมื่อจะติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านพักอาศัยทางการไฟฟ้าจะแนะนำให้เปลี่ยนขนาดผู้ใช้ไฟเป็น 30 แอมป์ เพื่อป้องกันการใช้ไฟเกิน
  3. ขนาดสายไฟ Main และ Circuit breaker ปรับสาย Main ให้มีขนาด 25 ตารางเมตร ส่วน Circuit breaker ต้องมีขนาด 100 แอมป์ (Circuit breaker เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า และตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร) ซึ่งอุปกรณ์ 2 อย่างนี้จะต้องทำงานสอดคล้องกัน
  4. สำรวจตู้ MDB สำรวจว่าตู้ MDB หรือ ตู้ไฟฟ้าในบ้าน สามารถเพิ่ม Circuit ได้อีก 1 ช่องหรือไม่ เพราะ EV Charge ต้องใช้ช่อง Circuit เฉพาะ ดังนั้นหากเต็มแล้ว จะต้องทำการเพิ่มตู้ MDB อีก 1 ตู้
  5. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) เครื่องตัดไฟรั่ว หรือ RCD จะมีหน้าที่ตัดไฟเมื่อพบว่ามีไฟรั่วจากระบบ แต่การติดตั้งระบบนี้ต้องมีการติดตั้งสายดินด้วย

ตำแหน่งการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สำหรับชาร์จรถไฟฟ้า EV

1. พื้นที่ติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านเป็นพื้นที่โล่ง ไม่มีอาคาร หรือต้นไม้ใหญ่มาบดบังแสงอาทิตย์ เพื่อให้โซล่าเซลล์ได้รับแสงแดดมากที่สุด เพราะการติดตั้งใกล้ต้นไม้ใหญ่จะทำให้กิ่งไม้หล่นใส่แผงโซล่าเซลล์ หรือใบไม้ร่วง ซึ่งจะยากต่อการทำความสะอาด นอกจากนี้การที่เงาต้นไม้บดบังอาจส่งผลต่อการผลิตกระแสไฟของโซล่าเซลล์อีกด้วย

2. ทิศในการติดตั้งโซล่าเซลล์การติดตั้งโซล่าเซลล์ควรเป็นทิศใต้ เนื่องจากเพราะจะรับแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวัน นอกจากนี้ บริเวณที่ติดตั้งควรมีอุณหภูมิที่เหมาะสมมีระบบการไหลเวียนของอากาศที่ดี และควรมีอากาศถ่ายเท

3. เลือกบริเวณที่มีอุณหภูมิที่ไม่สูงเกินไป การติดตั้งโซล่าเซลล์ในบริเวณที่มีความร้อนสูงจะส่งผลให้การทำงานของโซล่าเซลล์ลดลง และควรอยู่ในบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศได้ดี เพื่อลดความร้อนของระบบโซล่าเซลล์

Solar cell ชาร์จรถไฟฟ้า มีกี่ขนาดวัตต์ เลือกอย่างไรให้เหมาะสม

การติดตั้ง Solar cell เพื่อการชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้าน สามารถติดตั้งได้ตั้งแต่ 3 kw ขึ้นไป แต่ไม่ควรติดตั้งเกิน 10 Kw

การติดตั้ง Solar cell เพื่อการชาร์จรถไฟฟ้า 3 Kw

การติดตั้ง Solar cell ขนาด 3 Kw หรือ 3,000w จะใช้จำนวนแผงประมาณ 5-7 แผง ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 3 Kw จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 3,000 kW (1kW=1หน่วย) ซึ่งสามารถใช้ลดค่าไฟตอนกลางวันได้ประมาณวันละ 10-15 หน่วย หรือประมาณเดือนละ 1,200– 2,000 บาท

การติดตั้ง Solar cell เพื่อการชาร์จรถไฟฟ้า 5 Kw

การติดตั้ง Solar cell ขนาด 5 Kw หรือ 5,000w จะใช้จำนวนแผงประมาณ 9-11 แผง ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 5 Kw จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 5,000 kW (1kW=1หน่วย) ซึ่งสามารถใช้ลดค่าไฟตอนกลางวันได้ประมาณวันละ 20-30 หน่วย หรือประมาณเดือนละ 2,500 – 4,000 บาท ต่อเดือน

การติดตั้ง Solar cell เพื่อการชาร์จรถไฟฟ้า 10 Kw

การติดตั้ง Solar cell ขนาด 10 Kw หรือ 10,000w จะใช้จำนวนแผงประมาณ 18-22 แผง ขึ้นอยู่กับกำลังผลิตไฟฟ้าของแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์ ขนาด 5 Kw จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณปีละ 10,000 kW (1kW=1หน่วย) ซึ่งสามารถใช้ลดค่าไฟตอนกลางวันได้ประมาณวันละ 40-60 หน่วย หรือประมาณเดือนละ 5,000 บาท – 7,000 บาท ต่อเดือน

ติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า ราคาเท่าไหร่?

บริษัท NK Solar Group รับติดโซล่าเซลล์ ชาร์จรถไฟฟ้า โดยทีมวิศวรผู้ชำนาญการ มีราคาเริ่มต้นที่ 120,000-250,000 บาท

สรุป

โดยปกติแล้วรถไฟฟ้าจะมีความจุแบตเตอรี่ราว 90kWh วิ่งได้ไกล 450 กิโลเมตร สามารถคิดอัตราใช้ไฟ 1 หน่วย (4.2 บาท) เท่ากับ 1 kWh หรือ 1 kWh เท่ากับ 4.68 บาท เมื่อชาร์จไฟจนเต็ม 90kWh จะเท่ากับ 90 หน่วย มีค่าใช้ไฟฟ้าประมาณ 421.2 บาท /ต่อการชาร์จ 1 ครั้ง ซึ่งการติดตั้งโซล่าเซลล์จะช่วยให้สามารถชาร์จรถไฟฟ้าได้ฟรีในช่วงเวลากลางวัน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการประหยัดค่าใช้จ่ายให้กับการไฟฟ้า