ติดโซล่าเซลล์ขายไฟให้การไฟฟ้า

ติดโซล่าเซลล์ขายไฟให้การไฟฟ้า คุ้มไหม? มีวิธีและขั้นตอนอย่างไร 2566

โซล่าเซลล์ กำลังเป็นกระแสรักษ์โลกที่มาแรงที่สุดในปัจจุบันนี้ เนื่องจากเป็นการใช้พื้นที่บนหลังคา ดาดฟ้าให้กลายเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดย่อมๆ เพื่อให้ได้เอางในบ้านเรือน หรือโรงงาน โรงเรียน หรือในหน่วยงานต่างๆ นอกจากนี้ยังได้รับการสนบสนุนจากหน่อยงานที่เกี่ยวข้องอย่าง MEA และ PEA ที่มีโครงการโซล่าภาคประชาชน ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวเกี่ยวกับใครงการ ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าว่าคุ้มไหม โดยรวมแล้วจะมีระยเวลาคืนทุนกี่ปี พร้อมแนะนำการยื่นขออนุญาตจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

โครงการขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า คืออะไร?

การเข้าร่วมโครการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา ประเภทบ้านอยู่อาศัย โดยการทำสัญญา PPA ที่ย่อมาจาก(Power Purchasing Agreement) ซึ่งเป็นรูปแบบสัญญาการซื้อขายไฟฟ้า ตามเงื่อนไขจากการไฟฟ้า โดยการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าที่มาจากพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่บนหลังคาประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) มีกำลังการผลิตติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) มีวัตถุประสงค์การติดตั้งคือผลิตไฟฟ้าใช้เอง เพื่อลดค่ากระแสไฟฟ้า และขายคืนในส่วนที่เหลือในอัตรารับซื้อไฟฟ้า 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี

ติดโซล่าเซลล์ เพื่อขายไฟ

อยากติดโซล่าเซลล์ เพื่อขายไฟคืนการไฟฟ้า ต้องทำอย่างไร

  1. ติดต่อบริษัทติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ที่มีการติดตั้งตามมาตรฐานของการไฟฟ้า และมีประสบการณ์ดำเนินการยื่นขออนุญาตขายไฟกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  2. บริษัทจะแนะนำการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ขนาดไม่เกิน 5Kw สำหรับบ้านพักอาศัยที่มีการใช้ไฟ 1 เฟส และไม่เกิน 10 Kw สำหรับหลังคาบ้านพักอาศัยที่ใช้ไฟ 3 เฟส เพื่อให้เจ้าของเครื่องวัดสามารถดำเนินการขายไฟคืนได้
  3. ทางบริษัท NK Solar Group จะดำการติดตั้งแผงและระบบโซล่าเซลล์ตาม แผนการติดตั้งที่ได้รับจากวิศวกร จากนั้นดำเนินการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าเมื่อเสร็จแล้วจะทำการทดสอบระบบเพื่อให้พร้อมสำหรับการใช้งาน
  4. เตรียมเอกสารสำหรับยื่นขออนุญาตขายไฟตาม List ที่ทางบริษัทเตรียมไว้ให้ เพื่อให้บริษัทสามารถดำเนินการแทนได้อย่างราบรื่น

อ่านบทความเพิ่มเติม : 4 ขั้นตอนการขออนุญาตติดตั้งโซล่าเซลล์ ต้องทำอะไรบ้าง? อัพเดท 2566

คุณสมุบัติของผู้ยื่นเรื่องขายไฟให้การไฟฟ้า

  1. เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (ชื่อเดียวกับชื่อในบิลค่าไฟฟ้า) เท่านั้น ในกรณีชื่อผู้ที่ยื่นขอผลิตไฟฟ้าไม่ตรงกับชื่อเจ้าของมิเตอร์ แนะนำให้ติดต่อการไฟฟ้าในพื้นที่ หรือยื่นขอเปลี่ยนชื่อผู้ใช้ไฟผ่านระบบออนไลน์ เพื่อแก้ไขหรือโอนเปลี่ยนเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าให้ถูกต้องก่อนดำเนินการยื่นขอผลิตไฟฟ้า
  2. เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้า ประเภทบ้านอยู่อาศัย (ประเภทที่ 1) โดยผู้ไฟฟ้า ระบบ 1 เฟส ที่ต้องการขายไฟต้องมีการติดตั้งระบบโซล่าไม่เกิน 5 kWp และผู้ไฟฟ้า ระบบ 3 เฟส ต้อมีกำลังผลิตรวมไม่เกิน 10 kWp
  3. เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า (มิเตอร์ไฟฟ้า) จะต้องเป็นทรัพย์สินของการไฟฟ้า และชื่อเป็นเจ้าของต้องตรงกับชื่อในบิลค่าไฟฟ้า

ขั้นตอนการยื่นขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า มีอะไรบ้าง?

  1. เตรียมเอกสารและรายละเอียดที่ใช้สำหรับการลงทะเบียนให้พร้อม เช่นสำเนาบัตรประชาชน บิลค่าไฟ แบบไฟฟ้า ใบรับรองวิศวกร รูปภาพบนหลังคา รายละเอียดของอุปกรณ์ติดตั้ง เป็นต้น
  2. ลงทะเบียนแจ้งประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
  3. ยื่นแบบคำขอขายไฟฟ้า Online ลงทะเบียนยื่นความจำนงได้ที่ https://myenergy.mea.or.th/ หรือ https://ppim.pea.co.th/
  4. รอรับการแจ้งผล และประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือก เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วจะต้องดำเนินการชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า 2,140 บาท และ ลงนามซื้อขาย ภายในระยะเวลา 30 วัน หากเกินระยะเวลาที่กำหนดคำขอก็จะถูกยกเลิกทันที
  5. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกที่ลงนามสัญญากับการไฟฟ้าเพื่อซื้อขายไฟฟ้าแล้ว จะได้รับการติดต่อจากการไฟฟ้าเพื่อตรวจสอบสายภายใน และทดสอบการติดตั้งให้ตรงกับรายละเอียดที่ยื่นไว้กับการไฟฟ้า
  6. หากผลการตรวจสอบผ่านแล้ว การไฟฟ้าจะดำเนินการเปลี่ยนเครื่องวัดกระแสไฟเป็นแบบดิจิตอลที่ที่มีระบบการอ่านค่าห่วยไฟฟ้าที่ขายไฟคืนได้ และกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ซึ่งยอดการขายไฟจะถูกนำมาหักกับยอดของการใช้ไฟฟ้า หากมียอดขายไฟมากกว่ายอดการใช้ไฟเงินที่ได้จะถูกโอนเข้าบัญชีที่มีการแจ้งไว้ตอนทำสัญญา

เงื่อนไขและข้อจำกัดในการยื่นเรื่องขายไฟ

  1. ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ทางการไฟฟ้ากำหนดไว้ และติดตั้งอุปกรณ์ตามมาตรฐานของ การไฟฟ้า โดยผ่านการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ชำนาญการเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ไฟฟ้า
  2. เป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบ On Grid ที่มีการเชื่อมโครงข่ายกับการไฟฟ้า เน้นให้ติดตั้ง Solar Rooftop ผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และขายไฟฟ้าที่เหลือได้ในราคา 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี
  3. สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้า ระบบ 1 เฟส (220 V) ต้องมีกำลังการผลิตรวมได้ไม่เกิน 5 kWp ไฟฟ้า และผู้ใช้ไฟฟ้าระบบ 3 เฟส (220/380V) ต้องติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ไม่เกิน 10 kWp
  4. ชำระค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบ ภายหลังได้รับการพิจารณา ในราคา 2,000 บาท (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ไม่เกิน 30 วันหลังประกาศรายชื่อ

การขายไฟฟ้า PEA และ MEA ต่างกันอย่างไร?

การขายไฟฟ้าให้กับ PEA และ MEA มีเงื่อนไขการรับซื้อไฟในโครงการ Solar ภาคประชาชน ในราคารับซื้อไฟฟ้า 2.20 บาท/ต่อหน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี โดย PEA หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า กฟภ. ที่ย่อมาจาก (Provincial Electricity Authority) เป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีหน้าที่ให้บริการและจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย ยกเว้นพื้นที่ 3 จังหวัดที่ MEA หรือที่เรียกกันว่า กฟน. ที่ MEA ย่อมาจาก (Metropolitan Electricity Authority) คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ

สิ่งที่ควรรู้ก่อนขายไฟให้การไฟฟ้า

  1. ผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็น ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 คือประเภทบ้านอยู่อาศัยกับการไฟฟ้าเท่านั้น
  2. เป็นการติดตั้งระบบ Solar Rooftop ที่เน้นผลิตไฟฟ้าใช้เอง (Self Consumption) และขายไฟฟ้าส่วนที่เหลือให้กับการไฟฟ้าในราคาห่วยละ 2.2 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี
  3. กำลังผลิตต้องไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ (kWp) ในการเชื่อมต่อแบบ 3 เฟส (220/380 V) และ ไม่เกิน 5 kWp ในการเชื่อมต่อแบบ 1 เฟส (220 V)
  4. ผู้ยื่นขอขายไฟฟ้าจะต้องเป็นผู้ลงทุนการติดตั้งระบบโซล่าเซลล์เองทั้งหมด
  5. บิลค่าไฟและผู้เค้าร่วมโครงการจะ จะต้องเป็นชื่อสอดคล้องกัน เช่น ชื่อ-นามสกุล , เลขที่บ้านที่ติดตั้ง, หากข้อมูลดังกว่ายังไม่ถูกต้อง สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานการไฟฟ้าในพื้น

ขายไฟให้การไฟฟ้าหน่วยละกี่บาท

ขายไฟได้หน่วยละกี่บาท

สำหรับการขายไฟจะมีค่าใช้จ่ายในการยื่นขอกับการไฟฟ้างอยู่ที่ 2,000 บาทเท่านั้น (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) และเราสามารถขายไฟที่มาจะระบบโซล่าเซลล์ให้กับการไฟฟ้าได้หน่วยละ 2.20 บาท เป็นระยะเวลา 10 ปี

ขายไฟให้การไฟฟ้า ต้องเสียภาษีไหม?

ไม่ว่าจะเป็นการขายไฟฟ้า หรือ สินค้า ใดๆทุกอย่างจะอยู่ในข้อบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 77/1(8) มาตรา 77/1(9) และมาตรา 77/2(1) แห่ง ประมวลรัษฎากร จึงจำเป็นต้องเสียภาษีตามระเบียบข้อบังคับ ซึ่งจากการขายไฟให้กับการไฟฟ้านั้น จะต้องเสียภาษีเงินได้ 1% โดยการไฟฟ้าจะทำการหัก ณ ที่จ่ายแล้วจากใบเสร็จนั้น ๆ

ต้องเปลี่ยนมิเตอร์ขายไฟ ใหม่หรือไม่?

หลังจากที่มีการทำสัญญาเรียบร้อยแล้ว จะมีทีมงานกับการไฟฟ้าเข้าทำการตรวจสอบระบผลิตไฟฟ้าหากทดสอบระบบผ่านเรียบร้อยแล้ว ทางการไฟฟ้าจะเปลี่ยนมิเตอร์ให้ใหม่ (ซึ่งเป็นมิเตอร์ดิจิตอลสำหรับการขายไฟ Solar โดยเฉพาะ) พร้อมกับทดสอบการเชื่อมต่อเข้าระบบโครงข่ายไฟฟ้า

การยื่นเรื่องขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้า มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ในการยื่นคำขอขายไฟฟ้า กับการไฟฟ้าจะค่าใช้จ่ายในการยื่นขอร้องจะอยู่ที่ 2,000 บาท (ราคายังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) หรือ 2,140 บาท

ลักษณะการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้งานที่บ้านพักและที่อยู่อาศัย

ติดโซล่าเซลล์บ้าน ช่วยลดค่าไฟ
ติดตั้งโซล่าเซลล์ใช้กับบ้านและที่อยู่อาศัย

ลักษณะการติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อใช้งานในบริษัทและโรงงานอุสาหกรรม

ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟในการผลิตที่โรงงาน
ติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อลดค่าไฟที่บริษัทและสำนักงาน

สรุป ติดโซล่าเซลล์ขายไฟให้การไฟฟ้า คุ้มไหม?

การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ จะทำให้คุณใช้ไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ในช่วงเวลากลางวัน และสามารถเข้าร่วมโครงการขายไฟให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวงได้ในราคาหน่วยละ 2.2 บาท เพื่อทำให้คืนทุนได้ใน 3-5 ปี ซึ่งเป็นระยะคืนทุนที่สั้น แต่ต้องเป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ระบบ On-Grid System เท่านั้น และต้องผ่านการขออนุญาตให้เรียบร้อย โดยการตรวจสอบจะใช้เวลาประมาณ 1-3 เดือน ซึ่งบริษัท NK Solar Group เรามีบริการดำเนินการยื่นเรื่องและเอกสารขายไฟฟ้าให้ทุกอย่างจบในหนึ่งเดียว