ค่าไฟแพง เพราะอะไร

ค่าไฟแพง เพราะอะไร? มีวิธีคิดและลดค่าไฟด้วยวิธีไหนได้บ้าง อัพเดท 2566

ค่าไฟแพง

จากการสำรวจตัวเลขการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทย พบว่าแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกวันนี้ไม่มีใครปฏิเสธได้ว่า การใช้ไฟฟ้ากลายเป็นปัจจัยที่ 5 การดำรงชีวิตประจำวัน ที่ช่วยให้ชีวิตมีความสะดวกสบายมากขึ้น แต่พอเห็นบิลค่าไฟแล้วก็ถึงกับต้องคิดหนักเนื่องจากค่าไฟที่แพงขึ้นจนน่าตกใจ ในบทความนี้เราจึงจะพามาดูสาเหตุของค่าไฟแพง พร้อมสำรวจว่าในปัจจุบันมีการปรับขึ้นค่าไฟขึ้นหน่วยละเท่าไหร่ ค่า FT คืออะไร พร้อมอัพเดทวิธีคิดและวิธีลดค่าไฟที่ได้ผลดีที่สุดในปี 2566

องค์ประกอบของค่าไฟ มีอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันการคิดอัตราค่าไฟในแต่ละเดือนจะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักได้แก่

ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน)

ค่าพลังงานไฟฟ้า (ค่าไฟฐาน) ซึ่งจะมีฐานการพิจารณาโครงสร้างค่าไฟฟ้าค่าเชื้อเพลิงและการรับซื้อไฟฟ้าตามนโยบายต่างๆ (G) ค่าระบบส่งไฟฟ้า (T) ค่าระบบจำหน่ายไฟฟ้า (D) ทุกๆ 3-5 ปี และในแต่ละ 3-5 ปีนั้น อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ว่าจะเป็นการปรับขึ้น หรือลดราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าที่เกิดจากอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับกรณีการซื้อไฟฟ้าและการเปลี่ยนแปลงค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน หรือเชื้อเพลิงจากต่างประเทศ เป็นต้น

ค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft)

ค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ ค่าเอฟที (Ft) เป็นสูตรของการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้า ซึ่งจะมีการพิจารณาค่าไฟทุกๆ 4 เดือน นำต้นทุนค่าไฟผันแปรมาบวก และลบกับค่าไฟฟ้าฐาน เพื่อช่วยปรับปรุงค่าไฟให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงจากต้นทุนจริง และเมื่อมีการนำมาคำนวณรวมกับค่าบริการของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย และรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะได้เป็นค่าไฟฟ้า ตามที่แจ้งไว้ในบิลค่าไฟฟ้านั่นเอง

ค่าบริการรายเดือน

ค่าบริการค่าไฟฟ้าเป็นต้นทุนในการอ่าน และจดหน่วย การจัดทำและส่งบิลค่าไฟฟ้า ระบบรับชำระค่าไฟฟ้า และและงานบริการลูกค้า โดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เป็นหน่วยงานกลาง ที่ได้รับมอบหมายใน การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย ซึ่งจะกำกับค่าบริการสูตรค่าไฟให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดโดยมีคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อช่วยให้เกิดความเป็นธรรม ต่อผู้ผลิตไฟฟ้าและผู้ใช้ไฟฟ้าค่า ซึ่งค่าบริการในส่วนนี้ได้ดำเนินมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543

ภาษีมูลค่าเพิ่ม(ราคาค่าไฟเฉลี่ย)

นอกจากค่า FT แล้ว ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) โดยภาษีค่าไฟฟ้าของประเทศไทยในครึ่งปีแรกของปี 2566 กกพ.ปรับขึ้นค่าเอฟทีงวดใหม่เดือน ม.ค.–เม.ย.66 ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยที่ประชาชนต้องจ่าย 4.72 บาทต่อหน่วย ขยับขึ้นเป็น 5.37, 5.70 และ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม เพิ่มขึ้นเป็น 6.03 บาทต่อหน่วย ส่วนในครึ่งปีหลังควรต้องรอ กกพ.อนุมัติการปรับขึ้นค่าไฟเฉลี่ยและมูลค่าเพิ่มได้ภายหลัง

ทำไมค่าไฟถึงแพง เกิดจากสาเหตุใด?

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมค่าไฟถึงแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่มีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เท่าดิม นั้นมีสาเหตุเกิดจาก 4 ปัจจัยหลักๆดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า
    เมื่อที่บ้านมีเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น หรือมีการใช้ไฟฟ้าในปริมาณที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อให้เกิดความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่นการเปิดเครื่องปรับในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด การเปิดเครื่องฟอกอากาศ การซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ภายในบ้าน การ work from home ก็อาจส่งผลทำให้ค่าไฟแพงขึ้นได้
  • ค่า Ft ขยับสูงขึ้นแบบก้าวกระโดด
    เนื่องจากในช่วงต้นปี 2565 ได้มีการปรับขึ้นค่า Ft กันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเริ่มขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อ โดยเริ่มจาก 1.39 สตางค์ต่อหน่วย มาเป็น 24.77 สตางค์ต่อหน่วยและขยับขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงกลางปีเป็น 93.43 สตางค์ต่อหน่วย โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 ได้พิจารณาข้อเสนอให้ค่า Ft เป็นหน่วยละ 0.9119 บาท หรือ 91.19 สตางค์ (ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)ซึ่งเป็นอัตราค่า Ft ที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือมีไฟรั่ว
    การที่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด หรือ ไฟรั่วก็เป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่ทำให้ค่าไฟแพงขึ้นแบบไม่รู้ตัวและเป็นปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นหากลองสังเกตแล้วพบว่ามีค่าไฟแพงขึ้นกว่าปกติ แนะนำให้ลองสังเกตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กินไฟสูง เช่น หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศ เตารีด เครื่องซักผ้า ว่าเกิดการชำรุดเสีหายหรือไม่ เพราะนอกจากค่าไฟแพงแล้วยังอาจเกิดอันตรายจากการถูกไฟช็อตจนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดไฟไหม้บ้านจนสร้างความเสียหายลุกลามเป็นวงกว้างได้อีกด้วย
  • สภาพอากาศ
    อากาศที่ร้อนอบอ้าวก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ค่าไฟพุ่งสูงขึ้นจนน่าตกใจ โดยเฉพาะในช่วงในฤดูร้อนที่ร้อนกว่าปกติ ซึ่งทำให้มีการใช้เครื่องทำความเย็น อย่าง ตู้เย็น หรือ เครื่องปรับอากาศอย่างหนัก จึงกินไฟมากขึ้น จึงเป็นสาเหตุทำให้อัตราการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านสูง แม้ว่าจะมีจำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้าและระยะเวลาใช้งานที่เท่าเดิมก็ตาม

ค่าไฟหน่วยละกี่บาท ปี 2566

หน่วยค่าใช้ไฟฟ้าในปี 2566 มีอัตราการคิดค่าไฟในเดือน พ.ค. – ส.ค. อยู่ที่ 4.70 บาท/หน่วย ส่วนในเดือนก.ย. – ธ.ค. รอกำหนด บาท/หน่วย จาก กกพ. อนุมัติค่าไฟในปี 2566 อีกครั้ง

วิธีลดและแก้ปัญหาค่าไฟแพง

ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังใช้งานทุกครั้ง

การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหลังการใช้งานทุกครั้ง เป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถลดค่าไฟฟ้าได้ เพื่อจากการเสียปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งไว้อาจยังมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้อยู่ ดังนั้นหลังปิดสวิตช์เครื่องใช้ไฟฟ้าควรมีการถอดเครื่องปลั๊กออกด้วยทุกครั้ง นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่จะช่วยป้องการเกิดอัคคีภัยได้อีกด้วย

วิธีนี้เหมาะกับใคร : ผู้ที่อยู่ในครอบครัวใหญ่ ซึ่งหากมีคนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเหมาะกับการช่วยกันประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ดี

ข้อดีข้อเสีย
– ช่วยป้อนกันการเกิดไฟฟ้ารั่ว หรือป้องกันการเกิดไฟฟ้ารัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดอัคคีภัย
– ช่อยยืดอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าให้นานขึ้น
– ช่วยประหยัดค่าไฟ
– การถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าบ่อยๆอาจทำให้เต้ารับหลวมได้

เปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่เหมาะสม

การเปิดเครื่องปรับอากาศในอุณหภูมิที่ไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส จะช่วยลดการใช้พลังงานให้น้อยลง จึงสามารถช่วยเซฟเงินค่าไฟในแต่ละเดือนได้ ดังนั้นหากบ้านไหนที่ต้องการประหยัดค่าไฟมากขึ้นควรเปิดแอร์ที่อุณหภูมิประมาณ 25-28 องศาเซลเซียส หรือเปิดพัดลมควบคู่กันไปเพื่อให้แอร์เย็นได้เร็วขึ้น

วิธีนี้เหมาะกับใคร : ผู้ที่ต้องชื่นชอบการเปิดเครื่องปรับอากาศ ซึ่งการปรับอุณหภูมิความเย็นของแอร์ให้อยู่ใน 25-28 องศาเซลเซียสจะช่วยให้ประหยัดค่าไฟได้

ข้อดีข้อเสีย
– ช่วยทำให้สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศได้นานขึ้นโดยยังช่วยประหยัดค่าไฟได้
– ช่วยฟอกอากาศให้สะอาดขึ้นไปในตัวโดยไม่ต้องเปิดเครื่องฟอกอากาศเพิ่ม
– หากอยู่ในห้องแอร์นานเกินไปอาจทำให้ผิวหนังแห้ง จมูกแห้ง ตาแห้งได้
– หากอุณหภูมิไม่เหมาะสมอาจทำให้เสี่ยงต่อการเพิ่มค่าไฟฟ้าได้

เลือกใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากเบอร์ 5

ใช้เครื่องไฟประหยัดไฟเบอร์5

การเลือกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ติดฉลากเบอร์ 5 เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่ช่วยประหยัดค่าไฟแบบสากล เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5 จะผ่านการทดสอบประสิทธิภาพพบว่าสามารถประหยัดพลังงานตามมาตรฐาน กฟผ. และบ่งบอกระดับการใช้ไฟฟ้า รวมถึงข้อมูลเบื้องต้นต่างๆ เช่น ประสิทธิภาพของเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้สามารถคำนวนค่าใช้ไฟฟ้าคร่าวๆต่อปีได้

วิธีนี้เหมาะกับใคร :

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องเการเปลี่ยนเครื่องใช้ไฟฟ้าให้ประหยัดไฟมากขึ้น
  • เหมาะกับผู้ที่มีการใช้เครื่องไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก
ข้อดีข้อเสีย
– เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพ ผ่าการทดสอบการประหยัดพลังงานตามมาตรฐานของ กฟผ. จึงประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว
– เครื่องใช้ไฟฟ้าอาจมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าเครื่องไฟฟ้าที่ถูกผลิตตามท้องตลาดทั่วไป

ใช้ไฟจากโซล่าเซลล์

ติดโซล่าเซลล์ช่วยลดค่าไฟ

การใช้พลังงานไฟฟ้าจากโซลล่าเซลล์ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งระบบโซล่าเซลล์เป็นการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ที่สามารถนำมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน แทนการใช้พลังงานจากการไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้คุณสามารถใช้ไฟฟ้าได้ฟรีในช่วงเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาที่มีแสงอาทิตย์นานสูงสุดถึง 8 ชั่วโมง ทำให้ประหยัดค่าไฟได้ 30-70% (ขึ้นอยู่กับกับพฤติกรรมและช่วงเวลาการใช้ไฟ) นอกจากนี้หากใช้ไฟฟ้าเหลือยังสามารถเข้าร่วมโครงการขายไฟคืนให้กับการไฟฟ้าได้ในราคาหน่วยละ 2.2 บาท เป็นระยะเวลานานถึง 10 ปี ทำใหในปัจจุบันไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ล้วนมีแต่การใช้พลังงานโซล่าเซลล์กันทั้งนั้น เพราะเป็นการใช้พลังงานได้อย่างไม่จำกัดและไม่มีวันหมด

วิธีนี้เหมาะกับใคร :

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการประหยัดค่าไฟ หรือลดค่าใช้จ่ายจากการใช้ไฟฟ้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการหารายได้จากการผลิตไฟจากแหล่งธรรมชาติ
  • เหมาะกับผู้ที่ให้ความใส่ใจด้านพลังงานทนแทน เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และมลพิษต่างๆ
ข้อดีข้อเสีย
– มีไฟฟ้าใช้ได้อย่างเต็มที่ตลอดอายุการใช้งาน
– ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าจากการไฟฟ้าได้จริง
– สามารถขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าได้
– ลดมลพิษทางอากาศ ภาวะเรือนกระจก และลดปัญหาโลกร้อน
– อาจมีต้นทุนในการลงทุนที่สูงตามความต้องการในการผลิต
– จำเป็นต้องหาบริษัทรับติดตั้งโซล่าเซลล์ที่น่าเชื่อถือ และมีผลงานที่ได้มาตรฐาน

อ่านบทความเพิ่มเติม : โซล่าเซลล์ (Solar Cell) คืออะไร รวบครบทุกข้อมูลที่ควรศึกษาก่อนใช้จริง

วิธีเช็คค่าไฟฟ้าแพงผิดปกติ

ค่าไฟแพงขึ้นผิดปกติจริงไหมหรือคิดไปเองสามารถเช็คได้ง่ายๆ 5 ขั้นตอนดังนี้

  1. เช็คการจดหน่วยว่าจดผิดหรือไม่
    หากพบว่าค่าไฟแพงขึ้นกว่าปกติ ให้ลองสังเกตเลขมิเตอร์ว่าเลขครั้งก่อนน้อยกว่าครั้งหลัง ครั้งหลังน้อยกว่ามิเตอร์จริงหรือไม่ จากนั้นถ่ายรูปไว้เป็นหลักฐาน หากการไฟฟ้ามีการจดหน่วยการใช้ไฟฟ้าผิดพลาดสามารถร้องเรียนกับการไฟฟ้าให้ตรวจสอบและทำการแก้ไขได้
  2. เช็คมิเตอร์ชำรุดหรือไม่
    หากเช็คแล้วการไฟฟ้าไม่ได้จดหน่วยผิดพลาด แต่ค่าไฟก็ยังแพงผิดปกติให้ลองเช็คว่ามิเตอร์มีความชำรุดเสียหายหรือไม่ ทำได้โดยการปิดเบรกเกอร์ลงประมาณ 15 นาที แล้วสังเกตหากพบว่ามิเตอร์ยังหมุนแสดงว่ามิเตอร์ชำรุด ให้รีบแจ้งกับการไฟฟ้าเพื่อทำการตรวจสอบต่อไป (แต่หากมิเตอร์ไม่หมุนแสดงว่าปกติ)
  3. เช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านรั่ว
    หากทำตามขั้นตอนที่ 1-2 แล้วยังไม่พบสาเหตุของค่าไฟฟ้าแพง ลองเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้านว่ามีไฟรั่วหรือไม่ โดยการปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหมด แต่ไม่ต้องปิดเบรกเกอร์ จากนั้นให้สังเกตหากพบว่ามิเตอร์หมุนอยู่แสดงว่ามีไฟฟ้าภายในบ้านรั่ว
  4. เช็คพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าตัวเอง
    ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันโลกร้อนมากขึ้นจริงๆ ทำให้ต้องหาหลายๆวิธีมาคลายร้อน และวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 เลยก็คือการเปิดเครื่องปรับอากาศ ดังนั้นหากไม่พบความผิดปกติในข้อ 1-3 แนะนำให้สำรวจพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของตัวเอง เช่นมีการเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดเวลาหรือไม่
  5. แจ้งการไฟฟ้าให้ตรวจสอบ
    หากลองเช็คมาทุกข้อแล้วยังไม่พบสาเหตุของค่าไฟแพง สามารถเขียนคำร้องเพื่อให้การไฟฟ้าตรวจสอบมิเตอร์ได้ โดยหลังจากการทำเรื่องจะมีเจ้าหน้าที่ของการไฟฟ้าเข้ามาเทียบมิเตอร์ หากผิดปกติจริงทางการไฟฟ้าจะทำการปรับปรุงค่าไฟฟ้าให้ไหม่ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากไม่พบความผิดปกติจะต้องเสียค่าบริการตรวจสอบ

ค่าไฟแพงผิดปกติ สามารถร้องเรียนได้ที่ไหน

สำหรับประชาชนที่มีปัญหาค่าไฟฟ้าแพงผิดปกติโดยสามารถร้องเรียนได้ที่

  • กรุงเทพฯ และปริมณฑล แจ้งเรื่องผ่านการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เว็บไซต์ http://www.mea.or.th และ Call Center เบอร์โทรศัพท์ 1130
  • จังหวัดอื่น ๆ แจ้งเรื่องผ่านการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เว็บไซต์ https://complaint.pea.co.th และ Call Center เบอร์โทรศัพท์ 1129

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปัญหาค่าไฟแพง

ค่าไฟเดือนไหนแพงสุด

จากการสำรวจของหลายๆหน่วยงานพบว่าเดือนที่มีอากาศร้อนมาก โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน จะมีค่าไฟสูงกว่าช่วงเดือนอื่น ๆ ของปี เนื่องจากในแต่ละบ้านต้องใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภททำความเย็นกันมากขึ้น เช่น เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำแข็ง และ การเปิดตู้เย็นบ่อยครั้ง จึงทำให้ค่าไฟฟ้าในเดือนนั่นๆเพิ่มขึ้นตามได้

ใช้ไฟตอนไหนประหยัด

หากต้องการประหยัดค่าไฟฟ้าควรหลีกเลี่ยงใช้ไฟในช่วงเวลา 13.30-15.30 น. ก็สามารถลดค่าใช้จ่ายลงได้ แต่สำหรับผู้ที่ติดตั้งระบบโซล่าเซลล์การใช้ไฟฟ้าในช่วงเวลา 10.00-15.00 น. ถือเป็นช่วงที่ประหยัด เนื่องจากโซลาร์เซลล์จะผลิตกระแสไฟฟ้าได้ดีที่สุด

ค่าไฟหน่วยละ 8 บาท แพงไหม?

หากค่าไฟหน่วยละ 8 บาท ถือว่าแพง เพราะการไฟฟ้ามีวิธีคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยที่แตกต่างกันไปตามรูปแบบของการใช้งาน อย่างเช่น

ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1 ใช้ไฟไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.3488 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 8.19 บาท/เดือน) และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 2 ใช้ไฟเกิน 150 หน่วยต่อเดือน เริ่มต้นที่หน่วยละ 3.2484 บาท ถึง หน่วยละ 4.4217 บาท (ค่าบริการ 38.22 บาท/เดือน) รวมถึงผู้ที่ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 3 หรือ TOU คือ คิดค่าไฟตามช่วงเวลาของการใช้งาน ในช่วง Peak หรือ Off Peak เริ่มต้นที่หน่วยละ 2.6037 บาท ถึง หน่วยละ 5.7982 บาท (ค่าบริการ 38.22 หรือ 312.24 บาท/เดือน) เป็นต้น

สรุป

การคำนวณค่าไฟมีหลายปัจจัยร่วมกันทั้งค่าพลังงาน ค่าผันแปร FT ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าบริการรายเดือน ดังนั้นการที่ค่าไฟเพิ่มสูงขึ้นจึงเป็นเหตุที่ควบคุมได้ยาก แต่สำหรับใครที่ต้องการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า การติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ถือเป็นสิ่งที่สามารถตอบโจทย์ได้ตรงจุดมากที่สุด เพราะเป็นระบบที่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ได้เองจึงช่วยลดการดึงพลังงานจากการไฟฟ้ามาใช้ลดลง โดยสามารถลดค่าไฟได้ 30-70% และมีระยะเวลาคืนทุนที่สั้นเพียง 3-5 ปี นอกจากนี้ยังสามารถเข้าร่วมโครงการขายไฟคืนได้ 2.2 บาท/หน่วย เป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนที่มีความคุ้มค่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว